สยามประเทศ

สาเหตุเปลี่ยนชื่อประเทศ สยาม เป็น ไทย

สาเหตุแห่งการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทยนั้นสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑

นาย พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น) ได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ เป็นนายกรัฐมนตรี ในบรรดารัฐมนตรีแห่งรัฐบาลนั้นมีข้าพเจ้าด้วยผู้หนึ่งซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลัง และ มีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นรัฐมนตรีลอย (ไม่ว่าการกระทรวง)

ต่อมาประมาณอีก ๔-๕ เดือน หลวงวิจิตรวาทการได้เดินทางไปฮานอยเพื่อชมกิจการโบราณคดีของสำนักตะวันออก ไกลฝรั่งเศส  เมื่อหลวงวิจิตรฯ กลับจากฮานอยได้นำแผนที่ฉบับหนึ่งซึ่งสำนักฝรั่งเศสนั้นได้จัดทำขึ้นแสดงว่า มีคนเชื้อชาติไทยอยู่มากมายหลายแห่งในแหลม      อินโดจีน ,ในประเทศจีนใต้, ในพม่า, และในมณฑลอัสสัมของอินเดีย

ครั้นแล้วผู้ฟังวิทยุกระจายเสียง ได้ยินและหลายคนยังคงจำกันได้ว่าสถานีวิทยุกรมโฆษณาการ (ต่อมาปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์) ได้กระจายเสียงเพลงที่หลวงวิจิตรฯ รำพันถึงชนเชื้อชาติไทยที่มีอยู่ในดินแดงต่างๆ และมีการโฆษณาเรื่อง “มหาอาณาจักรไทย” ที่จะรวม         ชนเชื้อชาติไทยในประเทศต่างๆ เข้าเป็นมหาอาณาจักรเดียวกันทำนองที่ฮิตเลอร์กำลังทำอยู่ในยุโรปในการรวมชน เชื้อชาติเยอรมันในประเทศต่างๆ ให้เข้าอยู่ในมหาอาณาจักรเยอรมัน

ใน การประชุมวันหนึ่ง นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปัญหาด่วนนอกระเบียบวาระโดยให้ หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้แถลงให้เปลี่ยนชื่อ “ประเทศสยาม” เป็น “ประเทศไทย” โดยนำสำเนาแผนที่ฉบับที่สำนักตะวันออกไกลฝรั่งเศสทำไว้ว่าด้วยแหล่งของชน เชื้อชาติไทยต่างๆ มาแสดงในที่ประชุมด้วย โดยอ้างว่า “สยาม” มาจากภาษาสันสกฤต “ศยามะ” แปลว่า “ดำ” จึงไม่ใช่ชื่อประเทศของคนเชื้อชาติไทยซึ่งเป็นคนผิวเหลืองไม่ใช่ผิวดำ และอ้างว่าคำว่า “สยาม” แผลงมาจากจีน “เซี่ยมล้อ”

ข้าพเจ้าได้คัดค้าน ว่าโดยที่ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ค้นคว้ากฏหมายเก่าของไทยโดยอาศัยหลัก ฐานเอกสารที่จารึกไว้โดยพระมหากษัตริย์แต่ปางก่อนรวมทั้ง “กฎหมายตราสามดวง”               ซึ่งรัชกาลที่ ๑ (พระพุทธยอดฟ้าฯ) ได้โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาย (ตามที่ข้าพเจ้ากล่าวในข้อ ๒) และมิใช่คำว่า “สยาม” แผลงมาจากคำจีนแต้จิ๋ว “เซี่ยมล้อ” (ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในข้อ ๑) แต่จุดประสงค์เบื้องหลังของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีส่วนหนึ่งต้องการเปลี่ยน ชื่อประเทศว่าประเทศไทยเพื่อรวมชนชาติไทยในดินแดนต่างๆ เข้าอยู่ในมหาอาณาจักรไทย ดังนั้นรัฐมนตรีส่วนมากจึงตกลงตามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนชื่อ ประเทศสยามเป็น “ประเทศไทย” ข้าพเจ้าเป็นฝ่ายข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี

ต่อ มาสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ลงมติเห็นชอบในการเปลี่ยนชื่อประเทศซึ่งคณะผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ได้ลงนามให้ตราเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

เปลี่ยนชื่อประเทศ สยาม เป็น ไทย

ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 ประกาศใช้ธนบัตรแบบแรกของไทย เป็นธนบัตรหน้าเดียว มี 5 ราคา คือ 5,10,20,100 และ 1,000 บาท พิมพ์โดย บ. โทมัส เดอลารู แห่งอังกฤษ มีอักษรแจ้งมูลค่าเป็นภาษาไทย จีน อังกฤษ และมลายู

และในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" อย่างเป็นทางการดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลายคนคงเคยได้ยินเรียกประเทศเราว่า “สยาม “ และต่อมาเรียกว่า “ไทย” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่ามีเหตุผลเปลี่ยนเพื่ออะไร ??

เพราะพระมหา กษัตริย์สยาม ได้เรียกชื่อประเทศของพระองค์ ในพระราชสาส์นที่มีไปยังประมุขประเทศต่าง ๆ จึงทำให้นานาประเทศรู้จักประเทศสยามในนามว่า “SIAM” มาหลายศตวรรษ แต่จีนส่วนมาก พูดภาษาจีนกลาง หรือใกล้เคียงกับจีนกลาง เรียกชื่อประเทศสยาม มาตั้งแต่โบราณกาลว่า “เซียนโล๋”

ชาวยุโรป ที่เดินทางเรืออ้อมแหลมอาฟริกา มายังอินเดียตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แล้วเดินทางต่อมายังประเทศสยามนั้น ได้เรียกและเขียนชื่อประเทศสยามว่า “SIAM” ชาวยุโรปสมัยนั้น และสมัยต่อมาจึงเรียกชื่อประเทศสยาม ตามที่ชาวอินเดียใต้ ชาวสิงหฬ ชาวมลายู เรียกว่า “เซียม”

ตั้งแต่สมัย โบราณได้จารึกไว้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีจารึกไว้ในสมุดข่อยที่เรียกชื่อประเทศสยาม ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย แปลว่า อิสระ สยาม กับ ไทย เป็นสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน

สยาม ใช้เรียกคนป่าแถบแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังการก่อตั้งอยุธยา ดินแดนดังกล่าวได้ชื่อว่าสยาม ชาวยุโรปก็มักเรียกว่า นครแห่งสยาม สยาม เรียกตนเองว่า เมืองไท (ราชอาณาจักรแห่งอิสรชน)

มีการใช้ชื่อสยามมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำกฎหมายเก่ามาชำระและรวบรวมเป็นกฎหมายตราสามดวง ชื่อประเทศได้รับการบันทึกเป็นภาษาบาลีว่า "สามปเทส" สาม หรือ สามะ แปลว่าความเสมอภาค “เทส” ซึ่งแปลว่าบ้านเมือง แว่นแคว้น มีความหมายตรงกับ “ปเทส” (PADESA)

ปเทส แปลว่า ประเทศ แต่ฝรั่งออกเสียงเพี้ยน เป็นเซียมหรือไซแอม ดั่งบทเพลงขึ้นต้นด้วยประโยคว่า “ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง…” สยาม จึงเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชน ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ

ในหนังสือสัญญาที่ไทย ทำกับต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่พบการใช้คำว่า "สยาม" แต่เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยม สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์จึงได้พยายามดัดแปลง ให้ประเทศมีลักษณะสมัยใหม่ขึ้น เพื่อทำให้ประเทศไทยมีลักษณะเป็นรัฐชาติ ที่มีการรวมอำนาจปกครอง

เริ่ม มีการใช้ชื่อ "ราชอาณาจักรสยาม" เป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ โดยปรากฏใช้ชัดเจนครั้งแรกใน พ.ศ. 2399 แต่คนไทยส่วนมากคงเรียกว่า "ไทย" ตามเดิม

เหรียญกษาปณ์แทนเงิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 พิมพ์ตัวหนังสือว่า "กรุงสยาม" และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พิมพ์ตัวหนังสือว่า "สยามรัฐ"

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481 นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น , ต่อมาคือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ) ได้รับแต่งตั้ง จากคณะผู้สำเร็จราชการ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เป็นนายกรัฐมนตรี

ต่อมาประมาณอีก 4-5 เดือน หลวงวิจิตรวาทการ ได้เดินทางไปฮานอย เวียดนาม เพื่อชมกิจการโบราณคดีของสำนักตะวันออกไกลฝรั่งเศส เมื่อหลวงวิจิตรฯ กลับจากฮานอย ได้นำแผนที่ฉบับหนึ่งซึ่งสำนักฝรั่งเศสนั้นได้จัดทำขึ้น แสดงว่ามีคนเชื้อชาติไทย อยู่มากมายหลายแห่งในแหลมอินโดจีน ในประเทศจีนใต้ ในพม่า และในมณฑลอัสสัมของอินเดีย

ต่อมาสถานีวิทยุกระจายเสียง ได้กระจายเสียงเพลงที่หลวงวิจิตรฯ รำพันถึงชนเชื้อชาติไทยที่มีอยู่ในดินแดนต่างๆ และมีการโฆษณาเรื่อง "มหาอาณาจักรไทย" ที่จะรวมชนเชื้อชาติไทยในประเทศต่างๆ เข้าเป็นมหาอาณาจักรเดียวกัน คล้ายๆ ฮิตเลอร์กำลังทำอยู่ในยุโรป ในการรวมชนเชื้อชาติเยอรมันในประเทศต่างๆ ให้เข้าอยู่ในมหาอาณาจักรเยอรมัน

ต่อ มาในการประชุมวันหนึ่ง หลวงพิบูลสงคราม ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาปัญหาด่วนนอกระเบียบวาระ โดยให้หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้แถลงให้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" โดยนำสำเนาแผนที่ฉบับที่สำนักตะวันออกไกลฝรั่งเศสทำไว้ ว่าด้วยแหล่งของชนเชื้อชาติไทยต่างๆ มาแสดงในที่ประชุมด้วย

โดยอ้าง ว่า "สยาม" (SYAMA) มาจากภาษาสันสกฤต "ศยามะ" แปลว่า ดำ สีคล้ำ สีน้ำเงินแก่ สีน้ำตาลแก่ ฯลฯ จึงไม่ใช่ชื่อประเทศของคนเชื้อชาติไทย ซึ่งเป็นคนผิวเหลืองไม่ใช่ผิวดำ และอ้างว่าคำว่า "สยาม" แผลงมาจากจีน "เซี่ยมล้อ" อันเป็นภาษาของจีนแต้จิ๋ว

ในคำชักชวน กล่าวอ้าง ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีลอย ให้ใช้ชื่อ "ไทย “ แทน “ สยาม" ได้ให้เหตุผลว่า

1. ไม่ตรงกับเชื้อชาติ ของพลเมืองซึ่งเป็นไทย ทำให้ชื่อประเทศเป็นอย่างหนึ่ง และชื่อพลเมืองเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง

2. ทำให้คนไทยมีสัญชาติ และอยู่ในบังคับต่างกัน คือ คนไทยในเวลานั้นมีสัญชาติเป็นไทย แต่อยู่ในบังคับสยาม

3. คำว่า "สยาม" มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องประการใดกับชนชาติไทย คำว่า "สยาม" เป็นแต่เพียงชื่อเมืองเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑลของขอม ที่ปกครองชนชาติไทยมาแต่โบราณกาล และเมื่อพระร่วงกู้อิสรภาพของไทยได้ ก็ได้ยกเลิกคำว่าสยามเสีย

4. คำว่า "สยาม" แม้ในเวลานั้นก็ใช้กันแต่ในภาษาหนังสือ ส่วนในภาษาพูดโดยทั่วไปนั้นไม่ค่อยใช้

5. ชนชาติไทยเป็นชาติที่มีสาขาใหญ่หลวงอยู่ในเวลานั้น สมควรจะเรียกชื่อประเทศให้สมศักดิ์ของเชื้อชาติไทย

แต่ จุดประสงค์เบื้องหลัง คือ ต้องการเปลี่ยนชื่อประเทศเพื่อรวมชนชาติไทยในดินแดนต่างๆ เข้าอยู่ในมหาอาณาจักรไทย และ ต้องการลดทอนความภักดีของประชาชน ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้น รัฐมนตรีส่วนมากจึงตกลงตามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนชื่อประเทศ สยามเป็น "ประเทศไทย"

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 7 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 นายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ยศและบรรดาศักดิ์ในตอนนั้น) นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศทั้งในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ คือ

ในภาษาไทย ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติให้ใช้ว่า "ไทย" ในภาษาอังกฤษ ชื่อประเทศให้ใช้ว่า Thailand ชื่อประชาชนและสัญชาติให้ใช้ว่า "Thai"

การเปลี่ยนนามประเทศในครั้งนั้น นับว่าเป็นการดำเนินการทางการเมือง ที่วางแผนล่วงหน้าไว้อย่างรัดกุม กล่าวคือในวันเดียวกัน รัฐบาลได้ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ พร้อมกันไป เช่น ลงนามในสนธิสัญญาใหม่ กับมหาอำนาจต่างประเทศที่สำคัญๆ และกำหนดให้มีพิธีการแปลกใหม่คือ มีการเฉลิมฉลอง "วันชาติ"

ประกาศให้ 24 มิถุนายน เป็น "วันชาติ" เป็นครั้งแรก และให้ถือเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นครั้งแรก ที่วันหยุดราชการ จะมิใช่วันที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาหรือพระราชวงศ์ ดังที่เคยเป็นมาตลอดระยะเวลาก่อนหน้านี้

ในวันเดียวกันนั้นก็ยังมีการ วางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลางถนนราชดำเนิน (ของรัชกาลที่ 5) อีกด้วยเช่นกัน นี่ก็เป็นอนุสาวรีย์ในความหมายสมัยใหม่แห่งแรก ที่มิใช่เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ อย่างที่เคยเป็นมา เช่น พระบรมรูปทรงม้า พระราชานุสาวรีย์พระพุทธยอดฟ้าฯ เชิงสะพานพุทธ

ต่อ มาสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ลงมติเห็นชอบในการเปลี่ยนชื่อประเทศ ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ลงนามให้ตราเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่ม เติมเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง รัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีขัดตาทัพ 18 วัน เห็นว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยนั้น ใช้บังคับเฉพาะชื่อประเทศไทยในภาษาไทยเท่านั้น

รัฐบาลนั้นจึงได้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 ว่าชื่อของประเทศเป็นที่นิยมเรียกกันทางต่างประเทศว่า “Siam” จนแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันอย่างดีทั่วไปมาช้านานแล้ว ฉะนั้นจึงให้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษ “Siam” กับชื่อประชาชน และสัญชาติให้ใช้ว่า “Siamese” สำหรับในภาษาต่างประเทศอื่นให้ใช้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยให้ คงใช้ว่า “ไทย” ไปตามเดิม

ฉะนั้น เอกสารทางราชการ ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสจึงเรียกชื่อประเทศไทยว่า "SIAM" รวมทั้งหนังสือเดินทาง ให้เขียนเรียกชื่อประเทศไทยในภาษาไทยว่า "ประเทศไทย" ส่วนในภาษาฝรั่งเศสให้เขียนว่า "SIAM" และสัญชาติของผู้ถือหนังสือเดินทางให้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "SIAMOIS"

เมื่อ ได้เกิดรัฐประหาร 8 พ.ย.2490 แล้ว นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีประมาณ 3 เดือนเศษ รัฐบาลนี้คงเรียกชื่อประเทศไทย เป็นภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสว่า "SIAM" ต่อไปอีก

ต่อมาในเดือน เมษายน 2491 รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งแทนรัฐบาลควง แล้วก็ได้กลับเปลี่ยนชื่อประเทศไทย ในภาษาอังกฤษว่า "THAILAND" และในภาษาฝรั่งเศส "THAILANDE" ซึ่งรัฐบาลต่อๆ มาก็ได้ใช้ตามจนปัจจุบันนี้

ต่อมาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2511 ที่ใช้เวลาร่างนานที่สุดประมาณ 10 ปีนั้น ได้มีสมาชิกแห่งสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติไทยแท้ๆ และมีนายทหารชั้นนายพลคนหนึ่งร่วมด้วย ในการเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญเปลี่ยนชื่อประเทศไทย กลับเป็นประเทศสยามตามเดิม แต่สมาชิกส่วนมากไม่ยอมรับความเห็นนี้

ต่อมาในคณะกรรมการร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับ 2517 ก็มีกรรมการบางคนเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญเปลี่ยนชื่อประเทศไทย เป็นประเทศสยาม แต่กรรมการส่วนมากไม่ยอมรับความเห็นนี้ เพราะบางคนให้ความเห็นว่า เรื่องชื่อประเทศเป็นเรื่องเล็ก

รัฐบาลได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2517 ต่อสภานิติบัญญัติ สมาชิกสภานิติบัญญัติหลายคนได้แสดงความเห็น ขอแก้ชื่อประเทศไทยให้เป็นประเทศสยามตามเดิม ดังนั้น คงมีหลายคนขอแปรญัตติในคณะกรรมาธิการ แต่เสียงข้างมากในคณะกรรมาธิการ และในสภานิติบัญญัติไม่เห็นด้วย

นี่คือลำดับความเป็นมาของการเปลี่ยน ชื่อประเทศ “สยาม” เป็นประเทศ “ไทย” เหตุผลเบื้องลึกที่สำคัญ คือ นักการเมืองสมัยนั้นวางแผนให้คนไทยลืมเลือนอดีต ที่ผูกพันยึดโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างถึงรวมชนชาติไทยในดินแดนต่างๆ ที่สมัยนั้นเป็นไปไม่ได้แล้ว

สนใจเว็บไซต์นี้