ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์ ประวัติฯเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (สมัยราชวงศ์มังราย และสมัยพม่าปกครอง) อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว* เมืองเชียงใหม่มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันมีอายุร่วมเจ็ดร้อยปี และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ ๒๐๐ ปี (ระหว่าง พ.ศ.
ภาคเหนือ
จังหวัดภาคเหนือ
เชียงราย
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง ประวัติฯเชียงราย ๑. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ครั้นพ่อขุนเมงราย ประสูติแล้ว และเมื่อเจริญพระชันษาได้ ๒๑ พรรษา ได้เสวยราชย์ครอบครองสมบัติ ที่เมืองหิรัญนครเงินยาง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๒ พระองค์ให้เจ้าพระยามหานครทั้งหลายไปถวายบังคม หากเจ้าเมืองขัดขืนก็แต่งตั้งกองทัพออกไปปราบปราม ตีได้เมืองมอบ เมืองไร เมืองเชียง-คำ แล้วปลดเจ้าผู้ครองนครเหล่านั้น แต่งตั้งขุนนางของพระองค์ครองเมืองนั้นแทน
ลำปาง
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ประวัติศาสตร์จังหวัดลำปาง จังหวัดลำปางเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความสำคัญของประวัติศาสตร์ และโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชย คือราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีชื่อเรียกในตำนานเป็น ภาษาบาลีว่า “เขลางค์นคร” คำว่า “ลคร” (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ ซึ่ง นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ปรากฏอยู่ในตำนานศิลาจารึกและพงศาวดารส่วนภาษาพูดโดยทั่วไปเรียกว่า “ละกอน” ดังนั้นเมืองลคร (นคร) จึงหมายถึงบริเวณอันเป็นที่ตั้งของ
ลำพูน
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย ประวัติศาสตร์จังหวัดลำพูน ๑. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลำพูน เดิมชื่อ หริภุญชัย เดิมเป็นถิ่นฐานของเมงคบุตร (คือพวกชนเผ่าสกุลมอญในสุวรรณภูมิ ภาคเหนืออันเป็นสาขาหนึ่งของชนเผ่ามอญ เขมร จากมหาอาณาจักรพนม) พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปจะบังเกิดนครหริภุญชัยขึ้น และเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วพระบรมสารีริกธาตุจึงปรากฏขึ้นมาเอง เมืองหริภุญชัย เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นระหว่างแม่น้ำ
แม่ฮ่องสอน
หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง ประวัติฯแม่ฮ่องสอน สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นชุมชนบ้านป่า ไม่มีผู้ใดปกครอง คงมีแต่ชาวไทยใหญ่จากชายแดนพม่าเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากินบ้างเป็นบางฤดู ความสำคัญในสมัยนั้นเป็นเพียงทางผ่านของกองทัพพม่าที่เดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา หรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ามโหตร-ประเทศ (เจ้าพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ประสงค์จะได้ช้างป่ามาฝึกใช้งานจึงบัญชาให้เจ้าแก้วเมืองมาควบคุมไพร่พล
น่าน
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง ประวัติศาสตร์จังหวัดน่าน สมัยก่อนกรุงสุโขทัย ดินแดนจังหวัดน่านปัจจุบัน ในโบราณสมัยเป็นอาณาจักรเล็กๆ ส่วนหนึ่งในลานนาไทยตั้งอยู่ในอาณาจักรใหญ่ที่มีจำนวนมากกว่า ทางทิศตะวันตกได้แก่ ลานนาไทย ซึ่งมีเชียงใหม่เป็น ราชธานีสำคัญ และพม่าซึ่งอยู่ถัดต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีหลวงพระบางและสิบสองปันนา กับมีอาณาจักรสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาอยู่ทางทิศใต้ ฉะนั้นสภาพการของแคว้นน่านจึงตกอยู่ด้วยเหตุผลว่า ถ้าอาณาจักรใดมีอำนาจมาก แคว้นน่านก็ตกไปอยู่ในอำนาจของอาณาจักรนั้น ที่จะตั้งเป็นเอกราชโดยลำพังตนเองนั้น เท่าที่ปรากฏในประวัติความเป็นมา ที่น้อยที่สุด โดยถูกรั้งกันไปรั้งกันมาอยู่
พะเยา
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม ประวัติฯพะเยา สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา พระเยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อว่า เมืองภูกามยาว หรือพยาว เคยมีเอกราชสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองสืบราชสันตติวงศ์มาปรากฏตามตำนานเมืองพะเยา ดังนี้ จุลศักราช ๔๒๑ พุทธศักราช ๑๖๐๒ พ่อขุนเงินหรือลาวเงิน ราชโอรสของขุนแรงกวา-กษัตริย์ผู้ครองนครเงินยางเชียงแสนมีพระราชโอรส ๒ องค์คือ ขุนจอมธรรมโอรสองค์ที่ ๒ ให้ปกครองเมืองภูกามยาว
แพร่
หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม ประวัติศาสตร์จังหวัดแพร่ เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐาน แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนาน พงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย ดังจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป จากการศึกษาค้นคว้าและตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน
อุตรดิตถ์
เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก ประวัติฯอตรดิตถ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หวน พินพันธุ์ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเรียบเรียงไว้ดังนี้๑ ในท้องที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีคนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ต่อมาในสมัยสุโขทัยก็มีการตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองทุ่งยั้ง และเวียงเจ้าเงาะในท้องที่อำเภอลับแลปัจจุบัน เมืองตาชูชกในท้องที่อำเภอตรอนปัจจุบัน เมืองสวางคบุรีในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ปัจจุบัน ในสมัยอยุธยาก็มีการตั้งเมืองพิชัยในท้องที่อำเภอพิชัยปัจจุบัน เป็นต้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีการย้ายเมืองจากเมืองพิชัยมาตั้งใหม่ที่ตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงรายละเอียดของอุตรดิตถ์ในอดีต ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ๑