หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบ แก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน ประวัติศาสตร์จังหวัดมุกดาหาร เดิมดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เต็มไปด้วยป่าดงพงไพร ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกคนป่าอันสืบเชื้อสายมาจากขอม เช่น พวกข่า ส่วย กระโซ่ เมืองสำคัญส่วนมากตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เช่น กรุงศรีสัตนาคนหุต เมืองพวน (เชียงขวาง) ตลอดทั้งดินแดนสิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหก ซึ่งเป็นเผ่าไทยที่อพยพลงมาทางใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นครพนม
พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง ประวัติฯนครพนม สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดินแดนอันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบัน เดิมคือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นถิ่นเดิมของชาวลวะหรือละว้ายกเว้นดินแดนทางภาคใต้ซึ่งเป็นอาณาเขตของชาติมอญ อาณาจักรสุวรรณภูมิ แบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น ๓ อาณาเขต คือ ๑. อาณาเขตทวาราวดี มีเนื้อที่อยู่ในตอนกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกของอ่าวไทยจนถึงชายทะเลตะวันออก มีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี ๒. อาณาเขตยางหรือโยนก อยู่ตอนเหนือ ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
หนองบัวลำภู
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ประวัติศาสตร์จังหวัดหนองบัวลำภู ความเจริญรุ่งเรืองแห่งอดีต ดินแดนส่วนที่เป็นจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน ได้ปรากฏหลักฐานแห่งการอยู่อาศัยของ มนุษย์มานานนับพันปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือก่อนที่มนุษย์จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ เริ่มจากการดำรงชีวิตแบบเร่รอนในสังคมล่าสัตว์ ที่มนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผาหรือริมฝั่งน้ำ แสวงหาอาหารด้วยการจับปลา ล่าสัตว์ และพืชผักที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เร่ร่อนเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยไปเรื่อยๆ หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นได้แก่ ภาพเขียนสี และภาพสลักหินในเขตอำเภอโนนสังที่ถ้ำเสือตก ถ้ำจันใดถ้ำพรานไอ้ ถ้ำอาจารย์สิน
หนองคาย
วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว ประวัติฯหนองคาย สมัยกรุงธนบุรี ปี พ.ศ. ๒๓๑๔ ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี พระวอ (พระวรราชภักดี) อุปราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต และพระตา เสนาบดี เกิดขัดใจกันกับพระเจ้าศิริบุญสาร กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ ในครั้งนั้น พระวอพระตาเป็นนายกองอยู่บ้านหินโงม จึงรวบรวมไพร่พลไปสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองบัวลำภู(จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน) ใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า “เมืองนครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน” (ในพระราชวิจารณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุดรธานี
น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรม 5,000 ปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์ ประวัติศาสตร์จังหวัดอุดรธานี สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา อุดรธานีแหล่งอารยธรรมโบราณ ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้ร่องรอยแสดงว่า ได้เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นเวลานานไม่แพ้แหล่งอื่น ๆ ของโลก อาจจะเป็นเวลานานนับถึงห้าแสนปี ตามหลักฐานการขุดค้นของนักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ได้พบแล้ว โดยเฉพาะดินแดนที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนับเป็นแหล่งที่สามารถยืนยันได้ เพราะเป็นแหล่งที่มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่สำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษยชาติ แหล่งขุดค้นที่สำคัญที่นักโบราณคดีและกองโบราณคดีกรมศิลปากร ได้ทำการขุดค้นพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักโบราณคดีระหว่างประเทศว่าเป็นแหล่งที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่
ร้อยเอ็ด
สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามหน้ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ด สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานเล่ากันมาว่า บริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมเป็นเมืองใหญ่ชื่อว่า เมืองสาเกตนคร (อาณาจักรกุลุนทะนคร) เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาล มีเมืองขึ้นถึงสิบเอ็ดเมือง (ในสมัยโบราณนิยมเขียนสิบเอ็ด เป็น ๑๐๑ คือ สิบกับหนึ่ง) มีทางเข้าสู่เมืองถึงสิบเอ็ดประตู มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่าพระเจ้ากุลุนทะ
สกลนคร
พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวกูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม ประวัติฯสกลนคร สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รวมทั้งบริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เดิมเรียกว่า อาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นอาณาจักรของขอมสมัยเรืองอำนาจในดินแดนแถบนี้ ขอมได้ตั้งเมืองศรีโคตรบูรณ์เป็นราชธานี และได้ตั้งเมืองพิมายเป็นเมืองอุปราช หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโคตรบูรณ์ คือ พระธาตุพนมและพระธาตุอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน ในดินแดนที่เป็นอาณาจักรโคตรบูรณ์ดังกล่าว เมืองหนองหานหลวงก็เป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรนี้ ช่วงเวลาที่มีหลักฐานประกอบการตั้งชุมชนรอบๆ หนองหานอยู่ในสมัยของขอมเรืองอำนาจดังกล่าว
ศรีษะเกษ
หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี ประวัติศาสตร์จังหวัดศรีษะเกษ สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา จากการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายครั้งหลายหนในระยะหลังๆ นี้ อาทิ เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูป อัญมณีเครื่องประดับ ของใช้ประจำบ้านและเงินพดด้วง ซึ่งขุดพบใต้ฐานเจดีย์เก่าที่บ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๒๖ และที่หลายแห่งในพื้นที่ของกิ่งอำเภอห้วยทับทัน
สุรินทร์
สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ ๑. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา สภาพและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ไม่มีปรากฏเป็นหลักฐานเอกสารอันแน่นอน เพียงแต่ได้มีการจดบันทึกไว้เพียงสังเขป ซึ่งส่วนมากได้มาจากคำบอกเล่าของผู้มีอายุและเล่าต่อๆ กันมา จึงเอาความแน่นอนไม่ได้ แต่จากการสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า พื้นที่ซึ่งเป็นภาคอีสานในปัจจุบันเคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอันเป็นเขตปกครองเรียกว่า “อาณาจักรฟูนัน๑” ๑ อาณาจักรฟูนัน จดหมายเหตุจีนเรียกประเทศเขมรโบราณว่า ฟูนัน ภาคกลางและภาคอีสานของไทย
ยโสธร
เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ประวัติศาสตร์จังหวัดยโสธร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยโสธรเป็นเมืองเก่าแก่พอๆ กับเมืองอุบลราชธานี กล่าวคือหลังจากท้าวทิดพรหม ท้าวคำผง ขอพระราชทานตั้งบ้านดอนมดแดงขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานีแล้ว บริวารอีกส่วนหนึ่งได้อพยพลงมาตามลำน้ำชี ถึงบริเวณป่าใหญ่ที่เรียกว่า “ดงผีสิงห์” หรือ “ดงโต่งโต้น” เห็นว่าเป็นที่มีทำเลดีเพราะอยู่ใกล้ลำน้ำชี ประกอบกับมีวัดร้างและมีรูปสิงห์ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และตั้งหมู่บ้านขึ้น เรียกชื่อว่า “บ้านสิงห์ท่า”