พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
ประวัติฯพิษณุโลก
พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีประวัติอันยาวนานควบคู่มากับประวัติศาสตร์ของไทย โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที อกแตก การเปลี่ยนชื่อเป็น “พิษณุโลก” มาเปลี่ยนในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
ก่อนที่ราชวงศ์พระร่วงซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์ ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั้น ราชวงศ์ที่มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ คือ ราชวงศ์ศรีนาวนำถม พ่อขุนศรีนาวนำถมเสวยราชเมืองเชลียงตั้งแต่ราว พ.ศ. ๑๗๖๒ พระองค์มีพระโอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนผาเมืองครองเมืองราด และพระยาคำแหงพระราม ครองเมืองพิษณุโลก ภายหลังจากที่พ่อขุน-ศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลณลำพง เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองสุโขทัยให้ขุนบางกลางหาว ตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัย และได้เฉลิมพระนามเป็นพ่อขุนศรี- อินทราทิตย์
สมัยกรุงสุโขทัย
เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมืองจนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนราม-คำแหงมหาราช จึงได้ยึดเป็นสองแคว เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย ครั้นสมัยพระมหา-ธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ท่านได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงความเจริญ เป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝายสนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลก ไปสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระศรีรัตนมหาธาตุ