สุรินทร์

สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

จังหวัดสุรินทร์

. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

สภาพและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ไม่มีปรากฏเป็นหลักฐานเอกสารอันแน่นอน เพียงแต่ได้มีการจดบันทึกไว้เพียงสังเขป ซึ่งส่วนมากได้มาจากคำบอกเล่าของผู้มีอายุและเล่าต่อๆ กันมา จึงเอาความแน่นอนไม่ได้ แต่จากการสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า พื้นที่ซึ่งเป็นภาคอีสานในปัจจุบันเคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอันเป็นเขตปกครองเรียกว่า “อาณาจักรฟูนัน

อาณาจักรฟูนัน จดหมายเหตุจีนเรียกประเทศเขมรโบราณว่า ฟูนัน ภาคกลางและภาคอีสานของไทย ก็เป็นอาณาจักรฟูนัน ชนชาติในประเทศเขมรก็เรียกว่าชาวฟูนัน ซึ่งเป็นพวกตระกูลมอญ-เขมร ได้แก่ ละว้า ที่สืบเชื้อสายมาเป็นเขมรโบราณ พ.ศ. ๑๐๙๓ แคว้นเจนละบกเมืองขึ้นก่อกบฏ เจ้าจิตรเสน ชิงเอากรุงโตมู (ศมภู) ได้เป็นกษัตริย์มีพระนามว่า พระเจ้ามเหนทวรมัน เรียกชื่อประเทศใหม่ว่า เจนละ พ.ศ. ๑๒๐๙ – ๑๓๔๕ อาณาจักรเจนละเกิดแตกกันเป็นสองประเทศ ทางแผ่นดินสูงตอนเหนือ ได้แก่ ภาคอีสาน และประเทศลาว เรียกว่า เจนละบก ทางแผ่นดินต่ำตอนใต้ ได้แก่ ประเทศเขมร จรดชายทะเล เรียกว่า เจนละน้ำ คล้ายกับคำที่ชาวสุรินทร์พูดว่า แขมร์กรอม แขมร์เลอร์ (เขมรต่ำ-เขมรสูง) คำว่า กรอม แปลว่า ต่ำ ใต้ ล่าง และเรียกชาวเขมรที่อยู่ในประเทศเขมรว่า แขมร์กรอม มาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักการกลายของเสียงกรอมก็คงเป็นคำเดียวกับขอม ก็คือ เขมร สรุปว่า ภาคอีสานเคยเรียกว่าอาณาจักรเจนละบก เป็นอาณาจักรเขมรโบราณบางหัวเมืองคงรวมกับอาณาจักรเขมรตลอดสมัยกรุงสุโขทัย เช่น ในวงมณฑลอุดร นครราชสีมา จันทบุรี จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ไทยได้รบเขมรตีได้นครหลวง (นครธม) เขมรเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๕ ได้ขยายอาณาเขตไปทางตะวันออกได้ดินแดนนครราชสีมา และจันทบุรีไว้เป็นราชอาณาจักรเข้าใจว่าเมืองสุรินทร์และหัวเมืองแถบนี้รวมอยู่ในเขตราชอาณาเขตมาตั้งแต่ครั้งนั้น (จากหนังสือเรื่องแหลมอินโดจีน สมัยโบราณของเสฐียรโกเศศ ไทยในแหลมทองของ พ.อ.หลวงรณสิทธิพิชัย ประวัติศาสตร์ไทยกับเขมร ของสิริ เปรมจิตต์ หลักไทยของขุนวิจิตรมาตรา สยามกับสุวรรณภูมิ ของหลวงวิจิตรวาทการ แบบเรียนประวัติศาสตร์สยาม ของหลวงชุณห์กสิกรและคณะ

pdf


You May Also Like

สนใจเว็บไซต์นี้