ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี ประวัติฯสิงห์บุรี สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ประวัติของไทยนั้นเก่าแก่มาก จดหมายเหตุจีนเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีก่อนพุทธกาลกล่าวถึงภูมิลำเนาเดิมของไทยว่าอยู่ในลุ่มน้ำตอนกลางของแม่น้ำเหลือง ซึ่งอยู่ในท้องที่มณฑลฮูเป และ โฮนานในบัดนี้ ในสมัยเดียวกันนั้น จีนก็ได้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามที่ราบสูง ในลุ่มน้ำเหลืองตอนบน คือ มณฑลกังซูในบัดนี้ ซึ่งเห็นจะเป็นเพราะถูกพวกต้นตระกูลตาดรุกราน จึงได้ร่นลงมาและปะทะกับไทยเข้า ไทยมีจำนวนน้อยจำต้องร่นลงมาทางใต้หลายทิศหลายทาง พวกไทยส่วนมากร่นลงมาตามแม่น้ำแยงซีเข้าไปในยูนนาน ต่อสู้ชนะพวกพื้นเมืองเดิมและได้ตั้งอาณาจักรน่านเจ้า โดยมีตาลีฟูเป็นเมืองหลวง
Author: insiam_911
สมุทรสงคราม
เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม ประวัติฯสมุทรสงคราม สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ผลจากการสำรวจของบุคคลหลายคนเชื่อว่า ผืนแผ่นดินในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเคยเป็นทะเลมาก่อน ต่อมาเพื่อกระแสน้ำลำธารได้พัดพาเอาดินและทรายบนผืนแผ่นดินใหญ่ลงมาทับถมในอ่าว นับเป็นเวลาหลายพันปีเข้า อ่าวก็ตื้นเขินเป็นแผ่นดินงอกรุกทะเลออกไปเรื่อยๆ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ฝั่งทะเลอยู่ล้ำเข้ามาในผืนแผ่นดินใหญ่มาก คาดว่าพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง ทั้งหมดในขณะนี้ยังไม่มี โดยเหตุนี้จึงถือได้ว่า ในสมัย ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น เมืองสมุทรสงครามยังไม่เกิด
สุพรรณบุรี
เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟังประวัติฯสุพรรณบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวหนังสือ การแบ่งอายุของ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยึดเอาวัตถุที่ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลักในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีโดยบังเอิญ และโดยจงใจของผู้ลักลอบขุดค้นแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่าในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งที่อยู่ของคนก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ตอนกลางประมาณ ๓,๘๐๐ ปี ถึง ๒,๗๐๐ ปีลงมาจนถึงยุคโลหะ ตั้งแต่สมัยสำริดและยุคเหล็ก สังคมของมนุษย์พวกนี้เป็นสังคมเกษตรกรรม
ตราด
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีที่เกาะช้าง สุดทางบูรพาประวัติฯตราด สมัยก่อนอยุธยาเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดตราด ที่ปรากฏจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งรวบรวมได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วไปมีอยู่น้อย ไม่พอที่จะเรียบเรียงให้เป็นประวัติที่สมบูรณ์ได้ ยิ่งกว่านั้นหลักฐานบางส่วนก็คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นประวัติศาสตร์ก่อนสมัยอยุธยาจึงไม่มี หากอนุชนรุ่นหลังได้ค้นคว้าและมีหลักฐานใดทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ก็ชอบที่จะเรียบเรียงเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในภายหลังได้สมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากแผนที่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งไม่แน่ชัดว่า จังหวัดตราดเป็นเมืองมาแต่เมื่อใด เพียงมีชื่อว่า “บ้านบางพระ”
อุทัยธานี
อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ ประวัติฯอุทัยธานี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้สำรวจและขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๒ ถึงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๑๒ ที่บริเวณเชิงเขานาค ตำบลเขาขี้ฝอย อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
เชียงใหม่
ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์ ประวัติฯเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (สมัยราชวงศ์มังราย และสมัยพม่าปกครอง) อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว* เมืองเชียงใหม่มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันมีอายุร่วมเจ็ดร้อยปี และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ ๒๐๐ ปี (ระหว่าง พ.ศ.
เชียงราย
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง ประวัติฯเชียงราย ๑. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ครั้นพ่อขุนเมงราย ประสูติแล้ว และเมื่อเจริญพระชันษาได้ ๒๑ พรรษา ได้เสวยราชย์ครอบครองสมบัติ ที่เมืองหิรัญนครเงินยาง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๒ พระองค์ให้เจ้าพระยามหานครทั้งหลายไปถวายบังคม หากเจ้าเมืองขัดขืนก็แต่งตั้งกองทัพออกไปปราบปราม ตีได้เมืองมอบ เมืองไร เมืองเชียง-คำ แล้วปลดเจ้าผู้ครองนครเหล่านั้น แต่งตั้งขุนนางของพระองค์ครองเมืองนั้นแทน
กำแพงแพชร
กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เรื่องลือมรดกโลก สมัยก่อนสุโขทัย หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่พอจะตรวจสอบได้ของชุมชนโบราณแถบนี้ ได้แก่ ตำนานสิงหนวติกุมารซึ่งกล่าวถึง อาณาเขตของโยนกนคร ในสมัยพระยาอชุตราชาว่าทิศใต้จดชายแดนลวะรัฐ (ละโว้) ที่สบแม่ระมิง (ปากแม่น้ำปิง) ความนี้ส่อให้เห็นว่าดินแดนเมืองกำแพงเพชรแต่โบราณนั้น เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโยนกนครด้วยและจากตำนานฉบับเดียวกันนี้บันทึกว่า พระองค์ชัยศิริ ได้ละทิ้งเวียงไชยปราการหนีข้าศึกลงมาตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า เมืองกำแพงเพชร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีอื่นใดที่จะระบุได้แน่ชัดว่า เมืองกำแพงเพชรของพระองค์ชัยศิริ จะเป็นเมืองเดียวกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่า
ลำปาง
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ประวัติศาสตร์จังหวัดลำปาง จังหวัดลำปางเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความสำคัญของประวัติศาสตร์ และโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชย คือราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีชื่อเรียกในตำนานเป็น ภาษาบาลีว่า “เขลางค์นคร” คำว่า “ลคร” (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ ซึ่ง นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ปรากฏอยู่ในตำนานศิลาจารึกและพงศาวดารส่วนภาษาพูดโดยทั่วไปเรียกว่า “ละกอน” ดังนั้นเมืองลคร (นคร) จึงหมายถึงบริเวณอันเป็นที่ตั้งของ
ลำพูน
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย ประวัติศาสตร์จังหวัดลำพูน ๑. สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลำพูน เดิมชื่อ หริภุญชัย เดิมเป็นถิ่นฐานของเมงคบุตร (คือพวกชนเผ่าสกุลมอญในสุวรรณภูมิ ภาคเหนืออันเป็นสาขาหนึ่งของชนเผ่ามอญ เขมร จากมหาอาณาจักรพนม) พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปจะบังเกิดนครหริภุญชัยขึ้น และเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วพระบรมสารีริกธาตุจึงปรากฏขึ้นมาเอง เมืองหริภุญชัย เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นระหว่างแม่น้ำ