เตรียมสุขภาพก่อนบินไปนอก
ก่อนเดินทางไกลไปต่างประเทศ บางครั้งใช้เวลานานหลายชั่วโมง บางครั้งอาจนั่งเครื่องบินหลับ แล้วตื่น ตื่นแล้วหลับหลายรอบก็ยังไม่ถึงจุดหมาย ปลายทาง หากเดินทางภาย ในทวีปเอเชียจะใช้เวลาประมาณ 2-6 ชั่วโมง
หากเดินทางไปทวีปออสเตรเลียจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-10 ชั่วโมง หากเดินทาง ไปทวีปยุโรปจะใช้เวลาประมาณ 10-14 ชั่วโมง หาก เดินทางไปทวีปอเมริกาจะใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมง ทำอย่างไรเราจะถึงจุดหมายปลายทาง โดยที่มีสภาพร่างกายสมบูรณ์พร้อมจะประกอบภาระกิจต่อไปได้ โดยใช้เวลาปรับตัวสั้นที่สุด
การเตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่อง
1. สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว ควรจะสอบถามแพทย์ประจำตัวของท่านว่าสามารถเดินทางไกลได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ต้องเตรียมยาประจำตัวที่ใช้ทุกวันไป ให้พร้อม ซึ่งมีความ สำคัญพอๆกับพาสปอร์ตของคุณเลย เพราะหากคุณออกเดินทางโดยไม่มียา หากเกิดปัญหาขึ้นบนเครื่องบิน การแก้ไขปัญหาอาจทำไม่ได้หรือทำได้ก็อาจไม่ทันเวลา อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจ มีระดับของน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป หรือผู้ ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หากไม่ได้รับยาเพื่อควบคุมความดัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
2. การเตรียมยาสามัญทั่วๆไป ที่เวลาเดินทางอาจเกิด ปัญหาได้เช่น ยาแก้ปวด (พาราเซทามอล), ยาลด น้ำมูก, ยาแก้แพ้, ยาแก้ท้องอืด, ยาแก้ปวดท้อง, ยาลดกรด, ยาแก้ ท้องเสีย, ยาแก้เมารถ, ยาแก้ เวียนศีรษะ, ยานอนหลับ ทั้งนี้อาจต้องสอบถามวิธีรับประทานจากแพทย์ประจำตัวของท่านด้วย
3. หมากฝรั่ง กรณีที่มีเด็กและยังไม่รู้จักการปรับความดันของหูชั้นกลางกับสภาพอากาศภายนอก เวลาเครื่องบินเปลี่ยนระดับความสูง ไม่ว่าจะเป็นตอน เครื่องขึ้นหรือลง จะทำให้ความกดอากาศเปลี่ยนแปลง หากไม่มีการขยับขากรรไกรเพื่อเป็นการปรับอากาศภายในหูชั้นกลางโดยผ่านทางท่อ เชื่อมภายในหูกับช่องปาก จะทำให้มีอาการปวดภายในหูได้ การให้เด็กเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยปรับความดันได้ หากเป็นเด็กเล็กอาจไม่สามารถใช้ หมากฝรั่งได้ การที่เด็กร้องเพราะปวดหู จะเป็นการปรับความดันไปในตัว พอร้องสักพักความดัน ปรับได้ที่เด็กก็จะหายจากอาการปวดหู และหยุดร้องในที่สุด
4. เมลาโตนิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไพเนียล ซึ่งจะขับออกมาตอนกลางคืน การรับประทานเมลาโตนินจะสามารถช่วยให้ร่างกายปรับกลาง วันกลางคืนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกรณีที่เดินทางไปทวีปอเมริกาซึ่งอยู่ตรงกันข้ามของซีกโลก ความแตกต่างของเวลา ประมาณ 12 ชั่วโมง กลางวันจะกลายเป็นกลางคืน ขณะที่กลางคืนจะกลายเป็นกลางวัน ดังนั้นการปรับสภาพร่างกายจะค่อนข้างช้า และใช้เวลานาน ฮอร์โมนตัวนี้สามารถหาซื้อในต่างประเทศได้ตามเคาเตอร์ยา สามารถซื้อได้โดยไม่ ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ในประเทศไทยไม่มีขาย สำหรับวิธี การใช้จะกล่าวรายละเอียดต่อไป
ข้อปฏิบัติระหว่างอยู่บนเครื่องบิน
1. ตามที่มีข่าวเรื่องการเสียชีวิตจากปัญหาการเกิดเส้นเลือดอุดตัน แล้วหลุดไปที่ปอดทำให้ผู้โดยสาร เสียชีวิตในกรณีที่โดยสารเครื่องบินเป็นเวลา นานๆ เนื่องจากการไหลเวียนของโลหิตจะเกิดขึ้น ได้ดีเมื่อที่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดิน ดังนั้นวิธีการป้องกัน ตัวเองคือ การพยายามเคลื่อนไหวแขนขาการเดิน หลังจากที่นั่งนิ่งๆ เป็นเวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ขึ้นไป
2. การเริ่มปรับเวลาให้เข้ากับเวลาของจุดหมายปลายทางตั้งแต่ขึ้นเครื่อง เนื่องจากการรับรู้จากระบบประสาทของเราจะเป็นตัวช่วยทำให้ร่างกาย เคยชินกับเวลาใหม่ได้ดีขึ้น ถ้าเราขึ้นเครื่องตอนเช้า แต่เวลาที่ปลายทางเป็นตอนค่ำ ให้หมุนนาฬิกาเป็นตอนค่ำ แล้วพยายามปรับสมองให้รับ รู้ว่าเวลานี้เป็นเวลาค่ำแล้วอย่าพยายามย้อน
กลับไปเทียบเวลากับจุดเริ่มต้น จะทำให้การปรับสภาพการรับรู้ช้าลง อาจต้องใช้ยานอนหลับยาแก้แพ้ (บางคนไวต่อยาแก้แพ้มาก รับประทานแล้วมีอาการง่วงมากเหมือนทานยานอนหลับได้) หรือเมลาโตนินช่วย
ข้อปฏิบัติเมื่อถึงจุดหมาย หากเวลาที่จุดหมายปลายทางแตกต่างจาก เวลาของจุดเริ่มต้นมากจะทำให้การปรับเวลาทำได้ช้า ฮอร์โมนที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักเดินทาง คือ เมลาโตนิน ขนาดที่ขายกันในท้องตลาดในต่างประเทศมีหลากหลาย เช่น 300 ไมโครกรัม, 1 มิลลิกรัม, 3 มิลลิกรัม โดยทั่วๆไปแล้ววันแรกของการปรับเปลี่ยนเวลาจะใช้ขนาดที่สูงกว่าวันต่อๆมา
ยกตัวอย่างในสองวันแรกอาจใช้ยาขนาด 1 มิลลิกรัม วันที่สามและสี่ อาจใช้ 600 ไมโครกรัม และในวันที่ห้าหกใช้ขนาด 300 ไมโครกรัม อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและอายุ หากน้ำหนักมากกว่า 70 กิโลกรัมอาจต้องใช้ยามากขึ้น ในขณะที่หากอายุมากกว่า 60 ปี อาจต้องใช้ขนาดยาที่ลดลง อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเมลาโตนิน การใช้ยานอนหลับหรือยาแก้แพ้ก็สามารถจะช่วยในการปรับเวลาได้เช่นกัน
Credit บทความโดย : รศ. พันโท นายแพทย์วิเชียร มงคลศรีตระกูล
- แพทยศาสตร์บัณฑิต รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Clinical Fellow in Hematology Medicine and Dysproteinemia,
Mayo Clinic, Rochester, Minnesota, USA.
- Research Fellow in Hematology Medicine and Laboratory at Mayo
Clinic, Rochester, Minnesota, USA.
- Thai Board of Hematology Medicine